วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

(_.·´¯`·«¤° ชื่อ ชคดี นามสกุล ศิษย์ปฐม °¤»·´¯`·._)



+*¨^ ชื่อเล่น ปัง ปอนด์ ^¨*+



(¯`• จบจากวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แผนก คอมพิวเตอร์ธรุกิจ
•´¯)

ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ นะจ้ะ ^^~





จุดเริ่มต้นของภาษาซีภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า "ANSI C"Dennis Ritchieภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับเหตุผลที่ควรเรียนภาษาซีก็เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้นจาก C สู่ C++ถูกพัฒนาโดย Bjarne Stroustrup แห่ง Bell Labs โดยได้นำเอาภาษา C มาพัฒนาและใส่แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP (Object Oriented Programming) เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของ C++ ก็คือ นำภาษา C มาพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นBjarne Stroustrupจำเป็นไหม? ที่ต้องเรียนภาษา C ก่อน เรียน C++ เลยไม่ได้เหรอ? คำตอบก็คือ คุณจะเรียน C++ เลยก็ได้ครับ โดยไม่ต้องศึกษาภาษา C มาก่อน แต่ถ้าคุณเข้าใจหลักการทำงาน และการเขียนโปรแกรมภาษา C แล้วจะสามารถต่อยอด C++ ได้เร็วกว่า อีกทั้งยังสามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก ซึ่งในบทความในช่วงแรกผมจะนำเสนอหลักและแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษา C ก่อนนะครับ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในพื้นฐานก่อนนะครับต่อไปจะขอเกริ่นถึงการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างสักเล็กน้อยก่อนนะครับ แล้วก็จะเริ่มเข้ากระบวนการการเขียนโปรแกรมกันลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ก็คือ การนำโครงสร้างของคำสั่งหลายๆ รูปแบบ นำมาใช้ในโปรแกรม โดยจะมีการใช้คำสั่งลักษณะ goto ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ก็มี ภาษา C, Pascal และ Cobol เป็นต้นครับ ผมจะยกตัวอย่างในภาษา C ในรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างให้ดูดังด้านล่างนะครับภาพ: โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีแบบง่ายๆ แสดงถึงโครงสร้างจากโปรแกรมข้างต้นนะครับ สามารถแบ่งโครงสร้างตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ 3 ส่วนหลักๆ นะครับ ก็คือส่วนที่ 1 ประกาศค่าตัวแปร และ การกำหนดค่าให้กับตัวแปร (Declare)ส่วนที่ 2 เพิ่มค่า และเก็บค่าไว้ในตัวแปร (Calculation)ส่วนที่ 3 แสดงผลทางจอภาพ (Display)ซึ่งการทำงานของโปรแกรมแบบโครงสร้างนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถแก้ไขได้

BOOLเป็นตัวแปรแบบบูลีน มีค่าได้เพียง 2 ค่า คือ 1 และ

0int เป็นตัวแปรชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม

charเป็นตัวแปรชนิดตัวอักขระf

loatเป็นตัวแปรชนิดจำนวนจริง (ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม)

1. รูปแบบของฟังก์ชั่น printf คือprintf("string_format",data_list);

string_fotmat คือ สตริงที่ต้องการแสดงผลdata_list คือ ข้อมูลที่จะแสดงผล ซึ่งอาจเป็นค่าคงที่,ตัวแปร หรือนิพจน์ใดๆ

2. รูปแบบฟังก์ชั่น scanf คือscanf("string_format",address_list);

string_formatต่างจาก string_format ของฟังก์ชั่น printf() ของฟังก์ scanf() จะอยู่ในรูปแบบของตัวแทนชนิดต่างๆ เช่น %d,%c,%s,%f......address_list เป็นตัวระบุที่อยู่ (address) ในหน่วยความจำที่จะใข้ในการเก็บข้อมูลที่รับเข้ามานั้น โดย address list จะต่างกับ data list ของฟังก์ชั่น printf() ตรงที่ data list เป็นการระบุถึงข้อมูลโดยตรง

3. คำสั่งเงื่อนไข if (เงื่อนไข) {คำสั่ง 1;}คำสั่ง 2;

หากเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้ว คำสั่งต่างๆที่อยู่ภายในบล็อคของเงื่อนไข if ก็จะได้รับการประมวลผล (ซึ่งอาจมากกว่า 1 คำสั่ง)

4. คำสั่งทำซำ do-whiledo {คำสั่ง 1;} while(เงื่อนไข);คำสั่ง 2;

หลักการทำงาน คือ คำสั่งนี้จะทำงานอย่างน้อยที่สุด 1 ครั้งก่อนเสมอไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม จากนั้นจึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไขในภายหลัง

5. คำสั่งเงื่อนไข if-elseif (เงื่อนไข) (คำสั่ง 1;}else {คำสั่ง 2;}คำสั่ง 3;

เป็นคำสั่งที่ช่วยให้การตรวจสอบเงื่อนไขสมบูรณ์ขึ้น โดยหากตรวจสอบเงื่อนไขของ คำสั่ง if แล้วเป็นเท็จ ก็จะเข้ามาทำงานภายในบล็อคของคำสั่ง else แทน กล่าวคือ หาก ตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง ก็จะประมวลผลคำสั่งในบล็อคของ if แต่หากเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะประมวลผลคำสั่งในบล็อคของ else แทน