วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

วิธีการเล่นรูบิค.0.0.?

สูตร การหมุน Rubik แถวที่ 2หลังจากที่เราทำแถวแรกกันได้แล้วนะครับ เราก็มาทำแถวที่สองกันต่อเลย แถวที่สองนี้ทำง่ายหน่อยนะครับ อาศัยความเข้าใจนิดนึงก็ใช้ได้เลย
หลังจากทำได้หน้าเดียว (อย่างเป็นระเบียบ) เรียบร้อยแล้ว ให้เราบิดแถวแรกที่เราทำได้ดังนี้ .. (ทางซ้ายหรือขวาก็ได้นะครับ)
ให้ได้สีหน้าที่เหลือทั้ง 4 หน้า ที่ไม่ใช่ด้านบน ตรงกับสีที่ถูกต้องอย่างในรูปนะครับ
เรา ก็พลิกสีที่เราใช้เป็นหลักในตอนแรก (คือสีเหลือง) ลงไปข้างล่างนะครับ ทีนี้เราก็เล็งสีตรงที่ผมวงเอาไว้ ว่าสีอะไรจะมาใส่ที่ตรงนี้ ในที่นี้สีก็ควรจะเป็นอย่างรูปเล็กที่ผมเอามาให้ดูกันใช่ไหมครับ
ให้เรามองหาสีดังกล่าวที่อยู่คู่กัน แล้วพยายามบิดให้ได้อย่างในรูป ซึ่งตรงนี้ต้องเลือกหน่อย เพราะบางทีมันก็หาตำแหน่งนี้ยากซักหน่อย
ขั้น แรกเลย ให้เราหันหน้าที่เป็นสีแดงเข้ามาหาตัวเรา และให้ด้านน้ำเงิน ซิ่งมีเม็ดที่เราต้องการอยู่ทางด้านขวา จากนั้นให้บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านหน้าทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนกลับมาทางด้านซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วเราก็บิดด้านหน้ากลับมาแบบตามเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง ตรงนี้จะเห็นว่าสีแดงกับสีน้ำเงินที่อยู่ด้านบนเข้าคู่กันแล้วครับ
แล้วเราก็ต้องจัดให้มันได้ตำแหน่งเดิม นั่นคือบิดด้านบนไปทางซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านขวาขึ้นมาข้างบนหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
ทีนี้เกือบเข้าที่แล้วครับ แล้วก็บิดด้านขวาลงมา
ได้แล้วครับ
จาก นั้นเราก็ทำจุดที่เหลือให้ครบ ทีนี้มีอยู่สองสามอย่างที่อยากจะบอกครับ คือ1. ถ้าเม็ดที่เราต้องการเนี่ย ไม่อยู่ด้านขวาเหมือนในตัวอย่าง แต่ดันไปอยู่ข้างซ้าย วิธีการบิด ก็เหมือนกันทุกอย่างครับ แต่ ... ให้กลับการทำกัน ซ้ายเป็นขวา ทวนเข็มเป็นตามเข็ม ด้านซ้ายเป็นด้านขวา ด้านขวาเป็นด้านซ้าย แล้วจะเข้าล๊อคเหมือนกันครับ2. ให้สังเกตุเม็ดสีด้านบน เช่น ถ้าเป็นสีขาว ให้เราเลือกเม็ดที่ไม่มีสีขาวเอามาทำ เพราะมันจะลงตัว แต่ถ้ามีสีขาวอยู่ ยังไงมันก็ไม่ลงครับ3. ถ้าสมมุติเหมือนตัวอย่างเลย คือสีแดงและสีน้ำเงิน แต่เม็ดที่ต้องการก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่สลับสีกันระหว่างแดงกับน้ำเงิน ให้เราบิดแบบขั้นตอนนี้ทิ้งไป 1 ชุดครับ สีแดงน้ำเงินที่ต้องการ จะมาอยู่ด้านบน แล้วเราก็ค่อยบิดกลับลงมาให้ถูกตำแหน่ง
ขั้น ตอนที่ทำขั้น ที่สองนี้ ไม่เยอะมาก แต่ต้องทำความเข้าใจกับมันนิดนึงครับ ว่าทำไมต้องบิดแบบนี้ ขนาดนี้ ถ้าเข้าใจแล้วจะง่ายเลยครับ จะได้สองแถวได้เร็วมากๆ ครับ
ก็เหลือขึ้นตอนที่ 3 นะครับ ... อิอิ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการทำแมโครในไมโครซอฟต์เวิร์ด

การสร้างเมนูคำสั่งใน MS Office ด้วย Macro




Macro คืออะไรMacro เป็นลักษณะการใช้งานพิเศษที่ผู้ใช้โปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มของ Microsoft Office สามารถเรียกใช้งานเพื่อการสร้างคำสั่งขึ้นใหม่ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นและประหยัดเวลาในการใช้งานบางอย่างที่ต้องทำเป็นขั้นตอนซ้ำ ๆการสร้าง Macro ใน Microsoft Wordการบันทึก Macro
เปิดเอกสารที่ต้องการจะบันทึก Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกMacro > New Macro…




พิมพ์ชื่อของคำสั่งที่ต้องการใน Macro name box จากนั้นใน Store macro in box คลิกเลือกว่าต้องการเก็บ macro ที่สร้างนี้ไว้ที่ใด แล้วคลิกปุ่ม OK เพื่อเริ่มการบันทึก



บนจอภาพจะปรากฏกรอบแสดงปุ่มควบคุมการบันทึก และที่ pointer ของเมาส์จะปรากฏสัญลักษณ์เครื่องบันทึกเทป ณ ขณะนั้นถ้ามีการพิมพ์ หรือ คลิกเลือกคำสั่งใด กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะถูกเก็บบันทึกไว้ตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น เมื่อต้องการหยุดการบันทึกชั่วคราวก็กดปุ่ม Pause หรือ กดปุ่ม Stop เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมที่ต้องการบันทึกสำหรับ macro นั้น
การเรียกใช้ Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro > Macros… จะพบ Macro ที่ได้บันทึกไว้ในกรอบรายชื่อของ Macro
ถ้าต้องการให้ macro ใดทำงาน ให้คลิกเลือกชื่อ macro นั้น แล้วคลิกที่ปุ่ม Run
การแก้ไข Macro
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Macro4Macros… คลิกเลือกชื่อ macro ที่ต้องการแก้ไข แล้วคลิกที่ปุ่ม Edit
จะปรากฏวินโดว์ของ Microsoft Visual Basic ซึ่ง Word กำหนดไว้ให้เป็น Editor พร้อมกับวินโดว์ที่แสดง Code คำสั่ง ซึ่ง Word ได้แปลงขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้ ในกรณีที่เข้าใจคำสั่ง Visual Basic ก็สามารถทำการแก้ไข code ได้ตามต้องการ
เมื่อต้องการกลับไปที่ Word ให้คลิกที่ไอคอนของ Word บน Toolbar
การสร้างเมนูคำสั่งสำหรับเรียกใช้ Macroเมื่อได้มีการสร้าง Macro แล้ว และต้องการจัดทำเป็นเมนูเพื่อให้สามารถเรียกใช้ Macro ได้โดยสะดวก ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
เปิด Document หรือ Template ที่มีได้บันทึก Macro ไว้
คลิกที่เมนู Tools เลือกคำสั่ง Customize… เลือกแถบ Commands ที่ Categories box คลิกที่ Macros
คลิกที่ Macro ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์เพื่อนำ Macro ไปวางที่ Menu bar
คลิกปุ่ม Close
เมื่อต้องการเรียกใช้ Macro นั้น ก็สามารถคลิกที่เมนูได้ตามต้องการ
Macro Security ใน Microsoft Officeเนื่องจากปัญหาการระบาดของ macro virus โปรแกรมในกลุ่ม Microsoft Office จึงกำหนดให้มีการตั้ง security สำหรับการตรวจหา macro และเตือนผู้ใช้ว่ามี custom macro ในแฟ้มที่กำลังจะเปิด ผู้ใช้ต้องระบุว่าจะต้องการเปิดแฟ้มในลักษณะที่ยอมให้ macro ทำงานหรือไม่ (diable หรือ enable macro)ใน Microsoft Office 2000 ถ้าต้องการปรับเปลี่ยน Security ของ Macro ให้คลิกที่ Tools เลือกคำสั่ง Macro > Security… ซึ่งจะพบว่ามีอยู่ 3 ระดับ ดังนี้
High ถ้าเลือกระดับนี้ Macro ที่ได้ผ่านการรับรองเท่านั้นที่จะยอมให้ทำงานได้ Macro อื่น ๆ จะไม่สามารถทำงานได้
Medium ถ้าเลือกระดับนี้ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนกำหนดเองว่าจะยอมให้ macro ทำงานหรือไม่
Low ถ้าเลือกระดับนี้ จะเป็นการยอมให้ macro ทำงานได้ทันทีที่มีการเปิดแฟ้มนั้น ๆ ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยในเรื่องการป้องกัน virus
ในกรณีที่มีการสร้าง macro ไว้ใช้งาน อาจจะเลือก Security ระดับ Medium และก่อนจะเปิดแฟ้มที่มี macro ควรจะให้แน่ใจว่ามาจากแหล่งที่เชื่อถือได้

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว

(_.·´¯`·«¤° ชื่อ ชคดี นามสกุล ศิษย์ปฐม °¤»·´¯`·._)



+*¨^ ชื่อเล่น ปัง ปอนด์ ^¨*+



(¯`• จบจากวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แผนก คอมพิวเตอร์ธรุกิจ
•´¯)

ศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ นะจ้ะ ^^~





จุดเริ่มต้นของภาษาซีภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า "The C Programming Language" โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้ ต่อมาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า "ANSI C"Dennis Ritchieภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับเหตุผลที่ควรเรียนภาษาซีก็เนื่องจากภาษาซีเป็นภาษาแบบโครงสร้างที่สามารถศึกษาและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังสามารถเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก เช่น C++, Perl, JAVA เป็นต้นจาก C สู่ C++ถูกพัฒนาโดย Bjarne Stroustrup แห่ง Bell Labs โดยได้นำเอาภาษา C มาพัฒนาและใส่แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือ OOP (Object Oriented Programming) เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาของ C++ ก็คือ นำภาษา C มาพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นBjarne Stroustrupจำเป็นไหม? ที่ต้องเรียนภาษา C ก่อน เรียน C++ เลยไม่ได้เหรอ? คำตอบก็คือ คุณจะเรียน C++ เลยก็ได้ครับ โดยไม่ต้องศึกษาภาษา C มาก่อน แต่ถ้าคุณเข้าใจหลักการทำงาน และการเขียนโปรแกรมภาษา C แล้วจะสามารถต่อยอด C++ ได้เร็วกว่า อีกทั้งยังสามารถเข้าใจแนวคิดการเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้อีก ซึ่งในบทความในช่วงแรกผมจะนำเสนอหลักและแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษา C ก่อนนะครับ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในพื้นฐานก่อนนะครับต่อไปจะขอเกริ่นถึงการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างสักเล็กน้อยก่อนนะครับ แล้วก็จะเริ่มเข้ากระบวนการการเขียนโปรแกรมกันลักษณะโปรแกรมแบบโครงสร้างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) ก็คือ การนำโครงสร้างของคำสั่งหลายๆ รูปแบบ นำมาใช้ในโปรแกรม โดยจะมีการใช้คำสั่งลักษณะ goto ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ก็มี ภาษา C, Pascal และ Cobol เป็นต้นครับ ผมจะยกตัวอย่างในภาษา C ในรูปแบบการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างให้ดูดังด้านล่างนะครับภาพ: โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีแบบง่ายๆ แสดงถึงโครงสร้างจากโปรแกรมข้างต้นนะครับ สามารถแบ่งโครงสร้างตามลักษณะหน้าที่การทำงานได้ 3 ส่วนหลักๆ นะครับ ก็คือส่วนที่ 1 ประกาศค่าตัวแปร และ การกำหนดค่าให้กับตัวแปร (Declare)ส่วนที่ 2 เพิ่มค่า และเก็บค่าไว้ในตัวแปร (Calculation)ส่วนที่ 3 แสดงผลทางจอภาพ (Display)ซึ่งการทำงานของโปรแกรมแบบโครงสร้างนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถแก้ไขได้

BOOLเป็นตัวแปรแบบบูลีน มีค่าได้เพียง 2 ค่า คือ 1 และ

0int เป็นตัวแปรชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม

charเป็นตัวแปรชนิดตัวอักขระf

loatเป็นตัวแปรชนิดจำนวนจริง (ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม)

1. รูปแบบของฟังก์ชั่น printf คือprintf("string_format",data_list);

string_fotmat คือ สตริงที่ต้องการแสดงผลdata_list คือ ข้อมูลที่จะแสดงผล ซึ่งอาจเป็นค่าคงที่,ตัวแปร หรือนิพจน์ใดๆ

2. รูปแบบฟังก์ชั่น scanf คือscanf("string_format",address_list);

string_formatต่างจาก string_format ของฟังก์ชั่น printf() ของฟังก์ scanf() จะอยู่ในรูปแบบของตัวแทนชนิดต่างๆ เช่น %d,%c,%s,%f......address_list เป็นตัวระบุที่อยู่ (address) ในหน่วยความจำที่จะใข้ในการเก็บข้อมูลที่รับเข้ามานั้น โดย address list จะต่างกับ data list ของฟังก์ชั่น printf() ตรงที่ data list เป็นการระบุถึงข้อมูลโดยตรง

3. คำสั่งเงื่อนไข if (เงื่อนไข) {คำสั่ง 1;}คำสั่ง 2;

หากเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้ว คำสั่งต่างๆที่อยู่ภายในบล็อคของเงื่อนไข if ก็จะได้รับการประมวลผล (ซึ่งอาจมากกว่า 1 คำสั่ง)

4. คำสั่งทำซำ do-whiledo {คำสั่ง 1;} while(เงื่อนไข);คำสั่ง 2;

หลักการทำงาน คือ คำสั่งนี้จะทำงานอย่างน้อยที่สุด 1 ครั้งก่อนเสมอไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม จากนั้นจึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไขในภายหลัง

5. คำสั่งเงื่อนไข if-elseif (เงื่อนไข) (คำสั่ง 1;}else {คำสั่ง 2;}คำสั่ง 3;

เป็นคำสั่งที่ช่วยให้การตรวจสอบเงื่อนไขสมบูรณ์ขึ้น โดยหากตรวจสอบเงื่อนไขของ คำสั่ง if แล้วเป็นเท็จ ก็จะเข้ามาทำงานภายในบล็อคของคำสั่ง else แทน กล่าวคือ หาก ตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง ก็จะประมวลผลคำสั่งในบล็อคของ if แต่หากเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะประมวลผลคำสั่งในบล็อคของ else แทน